การบรรยายพิเศษ:การเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ (ตอนที่ 2)

มาต่อกันค่ะ
7. method หรือวิธีการวิจัย เป็นส่วนที่บอกให้ผู้อ่านรู้ว่า มีการดำเนินการวิจัยมาอย่างไร เป็นการพิสูจน์ว่า การค้นพบนั้นทำได้จริง (แม้ว่าบางครั้ง ในบทความไม่ได้บอกขั้นตอนไว้โดยละเอียดทั้งหมด) อาจารย์บอกว่า lab note  เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ต้องเก็บไว้ให้ดี เพราะถือว่าเป็นข้อมูลดิบที่ยืนยันการทำงาน หากมีการสอบถามสามารถใช้ยืนยันได้ ผู้วิจัยไม่สามารถอ้างได้ว่า พิมพ์ใส่คอมพิวเตอร์ และหายไปแล้ว…
…ในประเด็นนี้ ทำให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าเราจะขาดคอมพิวเตอร์ไม่ได้ในการทำงานวิชาการ แต่กระดาษและลายมือเขียน ก็ยังมีความสำคัญ ทั้งในโลกวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ยังไม่สามารถละทิ้งกระดาษได้
8.  Results  การรายงานผล ผู้รายงานจะต้องระบุได้ว่า อะไรเป็นสิ่งที่ค้นพบ และความรู้ใหม่คืออะไร ต้องบอกผู้อ่านได้ว่า แนวโน้มจะเป็นอย่างไร  ควรสามารถตอบคำถามของการวิจัยได้ ตอบสมมติฐานได้
9. Discussion เป็นส่วนที่ใช้ในการบรรยาย วิเคราะห์ผลการวิจัยว่า หมายความว่าอย่างไร ควรชี้ให้ผู้อ่านเห็นด้วยว่า ผลการวิจัยที่พบนั้น เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่เราอ้างถึงอย่างไร และควารอธิบายด้วยว่า งานวิจัยนั้จะขยับขึ้นไปเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร
10. Acknowledgements  ผู้วิจัยจะต้องขอบคุณผู้ที่มีอุปการะคุณทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานที่ให้ทุน บริษัทที่ให้ยืมเครื่องมือ  บริษัทที่บริจาคสารเคมีให้ เป็นต้น
11. References  อาจารย์บอกว่า ในการเขียนบทความวิจัยจะให้ความเชื่อถือกับ reference ทีเ่ป็นหนังสือ สำนักพิมพ์บ้างแห่งไม่ยอมรับการอ้างอิงจากเว็บไซต์เลย  การอ้างอิงเนื้อหาที่เป็น fact สามารถใช้เอกสารที่เป็นปีเก่าได้  แต่ถ้าเป็นเรื่องของการค้นพบ จะต้องอ้างอิงเอกสารปีพิมพ์ใหม่  และต้องดูความเหมาะสมของเนื้อหาด้วย
12. Grammar การใช้ภาษาอังกฤษ ให้ถูกต้อง และชัดเจนมีความสำคัญมาก เพราะ reader บางคนจะไม่อ่านเลยถ้าภาษาไม่ดี  ผู้เขียนบทความจะต้องรู้ว่า จะใช้ไวยากรณ์ให้เหมาะสมอย่างไร  เช่น ใช้ past tense เมื่ออธิบายถึงขั้นตอนของการทำงาน  ใช้ present tense ในการสรุปผลการวิจัย ทั้งของตนเอง และของนักวิจัยอื่น ใช้ present tense ในการบรรยาย fact  เป็นต้น
13. การ submit paper และ peer review  ให้ผู้วิจัยศึกษาขั้นตอนการ submitted จากคำแนะนำของวารสารโดยเคร่งครัด ส่วนใหญ่ editor จะเป็นผู้พิจารณาก่อน ว่าจะส่งให้ readers อ่านหรือ จะ rejected (ไม่ยอมรับ) หรือส่งคืนใ้ห้ผู้วิจัย revised  การ revised มี 2 ระดับ คือ major revise คือ แก้ไขมาก  minor revise คือแ้ก้ไขน้อย
ซึ่งอาจารย์แนะนำว่า หากถูก revise อย่าเพิ่งท้อ ให้วางบทความนั้นไ้ว้สักพัก แล้วค่อยกลับมาอ่าน comment ใหม่ อาจพบว่า ข้อ comment ของ readers นั้น สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยว่า บทความจะได้รับการ accept โดยไม่มีการ revise หรือถูก rejected จากวารสารอื่นมาก่อน
14. การตอบกลับ  เมื่ออ่าน comment  แล้ว และได้แก้ไขตาม comment หรือยืนยันความคิดเดิมก็ตาม  ผู้วิจัยต้องตอบกลับ editor ด้วยความสุภาพ  ให้ตอบเป็นข้อๆ   highlight ส่วนที่แก้ไข บอกด้วยว่าข้อความที่แก้อยู่ที่หน้าใด  ย่อหน้าใด บรรทัดใด
15. plagiarism ในส่วนนี้อาจารย์พูดถึงการคัดลอกงานทั้งจากของตนเอง และของผู้อื่น  ซึ่งสำนักพิมพ์จะไม่ยอมรับเลย
สุดท้าย อาจารย์ท่านหนึ่งถามถึุงเรื่อง  copyright transfer : อาจารย์พรศักดิ์ กล่าวว่า  copyright transfer จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ บทความนั้นได้รับการ accept แล้ว  และสำนักพิมพ์จะมีการทำสัญญากับผู้วิจัยให้ยกลิขสิทธิ์การตีพิมพ์ให้กับสำนักพิมพ์  แต่จะยังอนุญาตให้ผู้วิจัยนำเรื่องที่ตีพิมพ์นั้นไปสอนได้
เรื่องนี้ยาวไปหน่อย เลยไม่สรุปเพิ่มเติมแล้วนะคะ เพราะที่ยาวนี่ก็สรุปแล้ว น้องๆ ที่ไปด้วย เพิ่มเติม ปรับปรุงได้ค่ะ  เรื่องอย่างนี้ ถึงแม้ว่าจะดูไกลตัวเรา  แต่เราสามารถเก็บเอาสิ่งที่ได้ฟังไว้เป็นความรู้เท่าทันโลกในมหาวิทยาลัย  และเราอยู่ในหอสมุดที่มีหน้าที่หลักในการให้บริการประชาคมตั้งแต่ผู้บริหาร จนถึงนักศึกษา ปี 1 รู้ไว้ได้กำำไรค่ะ
มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีก 2 เรื่อง คือ  การใช้ Science English  และ Plagiarism เพื่อนๆ ที่ลืมไปแล้ว กลับไปอ่านได้ที่?p=9214

One thought on “การบรรยายพิเศษ:การเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์ (ตอนที่ 2)

  • สนับสนุนข้อ 11 เรื่องการอ้างอิง เดี๋ยวนี้นิยมม้าก มาก ก็อ้างอิงจากเว็บไซต์ แถมไม่บอกวันที่เข้าถึง(วันที่ค้น) ไม่บอกเรื่อง ดีหน่อยที่มีชื่อเว็บไซต์ เขาอนุโลมกรณีหาจากตัวเล่มหนังสือ(ฉบับพิมพ์/ ฉบับ e ก็ตาม)ไม่ได้ การอ้างอิงทั้งที่ลอกมาตรงเป๊ะ ที่ ซึ่ง กับ และสรุปใจความมา ก็ต้องบอกแหล่ง มิเช่นนั้นถือเป็นดังข้อ 15 สำหรับข้อ 13 การยอมรับโดยไม่มีการแก้ไข ขอบอกเลยว่า ไม่เคยมีเลยในสากลโลก(หรือว่าเคยมีแต่พี่แมวไม่ทราบยังไม่เคยเห็น) แน่นอน ผู้ทรงคณแต่ละท่าน ต่างเก่ง ต่างความคิด ย่อมเห็นต่างไม่มากก็น้อย ผู้ทรงคุณท่านนี้ให้ความเห็น ก็แก้ตามแล้ว ส่งไปให้อีกท่านก็ยังถูกแก้(ท่านไม่ทราบซึ่งกันและกัน ก็เราไม่บอก)
    ก็อย่างที่พัชบอกนั่นแหละว่า บรรณารักษ์ทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศ ดังนั้นต้องก้าวทันความต้องการของผู้ใช้บริการ หรือบางครั้งต้องก้าวล่วงไปก่อนด้วย ดูเหมือนจะต้องสาระแนรู้ไปทุกเรื่อง ดังที่พี่บอกหรือเป็การบังคับพวกเรา ต้องทำ ต้องไปฟัง แล้วเก็บมาเล่าขยายต่อ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องของสายผู้สอนเท่านั้น เราก็ต้องรู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม การสอทอรอไปทุกเรื่อง(แต่ต้องเรื่องดีๆนะ) คือคุณสมบัติของบรรณารักษ์หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ไม่ใช่หรือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ต้องรู้หมด หรือไม่จริง
    เถียงมาได้เลย

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร