เสวนาเรื่อง การลอกเลียนวรรณกรรม

เมื่อวานนี้ (20 มกรา)  ได้ไปร่วมฟังเสวนาเรื่อง การลอกเลียนวรรณกรรม (ตำรา/สิ่งตีพิมพ์) โดย ศ. ดร. ประพนธ์ วิไลรัตน์  จากคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล   ที่คณะเภสัชฯ กับพี่นก และน้องญา   ส่วนพี่หน่อย ติดราชการอื่น  จึงมาสรุปประเด็นให้เพื่อนๆ ทราบด้วยค่ะ
เริ่มจาก  รศ.ดร.จุรี  แนะนำอาจารย์ ความเชียวชาญ  สั้นๆ  และอาจารย์ ประพนธ์ ได้บอกว่าเกษียณมาตั้งแต่ปี 2547  แต่ต่ออายุมาจนเกษียณถาวร เมื่อปีที่ผ่านมานี่เอง แต่ยังคงเป็นที่ปรึกษาอยู่ที่  สวทช. และยังมีโต๊ะทำงานอยู่ที่มหิดล..เพราะ..(มีคำตอบอยู่ในการเสวนาค่ะ)
สรุปเนื้อหาจากการฟัง..
เราทำวิจัยเพื่ออะไร?
โดยหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ มีหน้าที่ในการค้นหาความรู้จากการทดลอง ซึ่งต้องพิสูจน์ได้   การทดลองหรือการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ และมีค่านั้น จะต้อง

1. คำถามในการวิจัย หรือการทดลอง จะต้องเป็นคำถามที่ตอบได้
2. ดำเนินการวิจัย ด้วยการทดลอง  (วิทยาศาสตร์คือศิลปะแห่งการแก้ปัญหา : Science is the art of the soluble )

3.  ให้คิดว่าไม่ได้มีสูตรเดียวในการแก้ปัญหา
4. อย่าทำงานเพียงคนเดียว (ให้ทำงานร่วมกับผู้ช่วยเหลือที่ดี)
5. ต้องมีเวทีในการแลกเปลี่ยน แสดงความรู้ ความคิดเห็น เช่น มี lab meeting  หรือ theme meeting  กับนักวิจัยคนอื่่นๆ  ในเรื่องที่ตนเชี่ยวชาญ หรือสนใจ
6. ต้องเข้าร่วมงานสัมมนาทางวิทยาศาสตร์ หรือในเรื่องของตนเองให้มากที่สุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก หรือมีชื่อเสียงมา
7. เข้าร่วมการประชุม conference  ทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศ
8. ต้องเป็นผู้เชีึ่ยวชาญในเรื่องที่ตนสนใจให้ได้

ผลที่ได้จากการวิจัย   คือ  รายงานการวิจัยที่จะส่งตีพิมพ์
การเขียนรายงานการวิจัย : ก่อนที่จะเขียนรายงานการวิจัย  จะต้องถามตัวเองก่อนว่า  เราทำงานวิจัยนี้ไปทำไม? และ ใครจะได้ประโยชน์จากงานวิจัยของเรา ?
มีกฏ 4 ประการที่ควรทราบก่อนการเขียนรายงาน
1. ต้องแน่ใจว่าตัวเองมีอะไรใหม่ที่จะพูดถึงในงานวิจัย
2. ต้องศึกษารายละเอียดของวารสารที่ตัวเองตั้งใจจะส่งผลงานลงตีพิมพ์
3. เข้าคอร์สภาษาอังกฤษ หรือไม่ก็ต้องมีผู้ช่วยที่เต็มใจ
4.  ต้นฉบับจะต้องเป็น original research  ต้องไม่เคยตีพิมพ์ในหนังสือ รายงานการประชุม,  proceeding , technical bulletin  หรือเคยพิมพ์เป็นภาษาอื่น

5. เตรียมตัว เตรีัยมใจ ที่จะถูกปฏิเสธ (rejected)
ต่อจากนั้น อาจารย์จะพูดถึงเรื่องรูปแบบและวิธีการ ในการเขียนรายงานการวิจัย ให้ดี ทำิอย่างไร ถึงจะถูกใจ คณะกรรมการพิจารณาของวารสาร
ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการเขียนจะต้องเป็น  Science English
เรื่องต่อไปเป็นเรื่องของ  Plagiarism หรือการลอกเลียนวรรณกรรม  โดยอาจารย์บอกว่า การลอกเลียนวรรณกรรมนั้น หมายถึง ได้ทั้ง การลอกเลียนทั้งของตนเอง และของผู้อื่น  การตรวจสอบ plagiarism นั้น ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการตรวจ โดยส่วนใหญ่ จะ reject บทความที่มีความเหมือนกับบทความอื่นก่อนหน้า  เกิน  15  %  เมื่อเอกสารถูกตรวจสอบ จะถูกพิจารณาว่า  duplicate (ซ้ำ) , erratum (ผิดพลาด) , update (กำลังตรวจ) , sanctioned (ถูก retract ออกจากวารสาร แต่ยังตีพิมพ์อยู่และถูกประนามโดยการขีดคร่อม ด้วยตัวอักษรสีแดงว่า retract)
การหลีกเลี่ยง plagiarism  ทำได้โดยการ
1.  อย่า cut  และ paste
2.  ถ้าอ่านงานของนักวิจัยอื่นให้    อ่าน..อ่าน..ปิด..เขียน (ด้วยภาษาของเรา)
3.  ถ้าจำเป็นต้องกล่าวถึงงานของนักวิจัยคนอื่น ก็อ้างอิงอย่างเหมาะสม
4.  ควรมีการตรวจสอบภาษาที่เขียนให้เป็น Science English  โดยให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญตรวจให้
เมื่ออาจารย์บรรยายจบ มีการซักถามจากอาจารย์คณะเภสัช และอาจารย์ธนิต จากคณะวิทยาศาสตร์  โดยอาจารย์ธนิต ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า เห็นด้วยกับอาจารย์ประพนธ์อย่างยิ่งที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องเข้าร่วมการประชุม สัมมนา ทั้งในและต่างประเทศให้มาก เพื่อจะสามารถสร้างเครือข่าย  เก็บเกี่ยวความรอบรู้  ต่อยอดความคิด สร้างองค์ความรู้ ค้นคว้าทดลองในเรื่องต่างๆ ได้กว้างขวาง และเกิดประโยชน์มากที่สุด
ก่อนออกจากห้องประชุม  เรา 3 คนซึ่งนั่งแถวหน้าสุด  ประจันหน้า และฟังอาจารย์กันอย่างตั้งอกตั้งใจ  เลคเชอร์ด้วย  สงสัยอาจารย์คงคิดว่าเราเป็น expert ทางใดทางหนึ่งมั๊ง..อาจารย์ถามพวกเราว่า..เห็นฟังกันอย่างตั้งใจ มีอะไรจะถามมั๊ย? .. พวกเราสั่นหัวแล้วบอกว่า พวกหนูมาจากห้องสมุดค่ะ  ตั้งใจมาฟังอาจารย์พูดเรื่อง  Plagiarism   อาจารย์ตอบว่า เรื่องของ Plagiarism มันเป็นเรื่องของ นักวิจัยผู้ิเขียนผลงานเพื่อตีพิมพ์  ไม่เกี่ยวกับห้องสมุดหรอก  นักวิจัยเขาต้องรับผิดชอบ  จริยธรรมนั้นด้วยตนเอง…

สำหรับความคิดเห็นของตัวเองที่ได้ฟัง อาจารย์ประพนธ์ พูด เหมือนได้เปิดสมอง รับฟังความคิดของนักวิทยาศาสตร์ ที่มองสิ่งต่างๆ คนละด้านจากที่เราเคยมอง   ได้ความรู้ ได้เปิดตาให้กว้างขึ้น  นอกจากนั้นก็ยัง มีความคิดว่า สายสังคมศาสตร์อย่างเรา คิดตรงข้ามกับที่อาจารย์พูด อย่างอาจารย์พูดว่า  “เวลาเขียนรายงาน  หรือ จะบอกอะไรแก่ใคร ให้คิดว่า  เราเป็น expert  กำลังพูดให้ expert ฟัง  ไม่ต้องพูดเรื่องพื้นฐาน ที่คิดว่า ใครๆ ก็รู้  ทำให้เหมือนกับเราไม่เชียวชาญ  ผู้อ่านก็จะรำคาญ ว่าตนรู้แล้ว” ในขณะที่ บรรณารักษ์อย่างเรา เวลาเราจะเขียนอะไร บอกกับคนในกลุ่มของเรา หรือนอกกลุ่มก็เถอะ ต้องให้คนที่ไม่รู้เรื่องของเราอ่านเรื่องของเราให้เข้าใจได้ ถึงจะดี พูดกันรู้เรื่อง  อาจจะเ็ป็นเพราะว่า วัตถุประสงค์ในการทำงานของเราต่างกับพวกนักวิทยาศาสตร์ ที่่มองแต่ผลที่จะได้กับตน และกลุ่มของตน สนใจแต่เฉพาะในเรื่องของตนเอง  มากกว่า แต่อย่างสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์  (ขื่อมันก็บอกแล้วนะว่า “สังคม”   ” มนุษย์” )  เราจะมองเผื่อแผ่ถึงคนในวงกว้าง ไม่จำเพาะต้องเป็นคนในวงการของเราเท่านั้น  ถึงแม้บางทีเราจะไม่ได้เป็น expert แต่เราเป็นเหมือนเป็ด รู้ไปทุกเรื่อง .. 🙂
เติมหน่อย.. อย่างไรก็ตาม เหรียญยังมีสองด้าน  สังคมโลกย่อมต้องมีทรัพยากรมนุษย์ทั้งสองด้านเหมือนกัน  เพื่อความสมดุล และสงบสุข.. :mrgreen:

พี่ำนก กับ น้องญา เพิ่มเติมเข้ามาไ้ด้นะจ๊ะ

4 thoughts on “เสวนาเรื่อง การลอกเลียนวรรณกรรม

  • โอ้ ment ยอดมาก (ส่งคนไปไม่ผิด) นี่แหละบรรณารักษ์ เป็ดน้อยๆ ความรู้ค่อยๆเพิ่ม จนเป็นย่าเป็ด มิน่าล่ะอย่างเราๆเมื่ออ่านรายงานการวิจัย หรือบทความวิจัยทางวิทย์ฯ เข้าสมองบ้าง ไม่เข้าสมองบ้าง ต้องพวก expertแล้วเท่านั้น จึงรู้เรื่อง
    อย่างไรก็ตาม expert ที่ต้องการความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์(สายสนับสนุน) ก็ยังคงมีอยู่ ดังนั้นให้พยายามศึกษางานวิจัยทางวิทย์ ไว้ด้วยล่ะ เวลาคุย สอบถามกันจะได้เข้าใจกันมากขึ้น service mind ค่ะ

  • อ่านแล้วนึกถึงพี่แดงที่เคยเล่าให้ฟังตอนทำวิทยานิพนธ์ว่าโดนวงมาเกือนครึ่งหน้าว่าไปลอกใครมา… ป้าบอกว่าอย่างขำๆว่า…ชั้นอุตส่าห์เขียนด้วยความชาญฉลาดของตนเอง 555 บอกไปว่าก็พี่ฉลาดจนไม่มีใครเชื่อเพราะหน้าตาไม่ให้
    การสร้างผลงานทางวิชาการทั้งสายวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ต่างมีเป้าหมายว่าชิ้นงานนั้นจะไปรับใช้ใคร จึงมีทั้งความเหมือนและความต่าง การเปิดตัวเองสู่โลกกว้างเป็นเรื่องที่ทุกสาขาอาชีพพึงมีและพึงเพียรพยายาม
    ส่วนการลอกเลียนวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับเราทั้งในเรื่องส่วนตัวของเราที่อย่าได้เผลอไผลทำแบบนั้นเป็นอันขาด รวมทั้งมีหน้าที่ที่จะต้องบอกเล่าถึงการกระทำแบบนี้ รวมถึงแนะนำเครื่องมือต่างๆที่มาช่วยทั้งคนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและคนที่ต้องได้รับการตรวจสอบ มีระบบที่ป้องกันเรื่องแบบนี้มาเสนอซื้อขายให้ตามห้องสมุดต่างๆ รวมทั้งระบบเปิดที่ใครก็ใช้ได้ เพราะพวกเราไม่สามารถพยากรณ์ได้เลยว่าผู้ใช้บริการจะถามอะไรเรา ทุกเรื่องที่ใครๆหยิบยื่นเข้ามาและเราสามารถเข้าไปรับรู้ได้เราจะไม่พลาดเป็นอันขาด
    มุมของวิทยากรบางเรื่องตัวเองสะดุดมากคือ การลอกเลียนของตนเอง ก็น่าจะหมายถึงว่าควรอ้างอิงด้วยเหมือนกันรวมทั้งอย่าปะหน้าปะหลังแล้วใส่packageใหม่ น่าจะประมาณนี้…ต่อไปต้องระวังให้มากๆๆๆกว่าเดิม

  • ในฐานะลูกเป็ดตัวหนึ่งที่ได้รับเกียรติไปร่วมฟังสัมมนาในครั้งนี้ จึงได้รู้อะไรที่เราคิดไม่ถึงอีกหลายอย่าง อาทิหลักในการคิดเพื่อการทำงานของแต่ละคน ก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปเพียงแต่ว่าผลสุดท้ายคือต้องการให้ได้รับการยอมรับจากสังคมที่เป็นผู้รับข่าวสารนั่นเอง(ที่พูดไปไม่รู้จะเข้าใจถูกต้องรึปล่าว) และสิ่งที่เราคิดไม่ถึงก็ยังมีอีกมาก แล้วแต่ใครจะตักตวง..

  • ตอนสุดท้ายที่จบการเสวนา อาจารย์บอกว่าไม่ค่อยเกี่ยวกับห้องสมุด แต่อย่างที่พัชบอกนั่นแหละนะว่าสำหรับเราชาวบรรณารักษ์แล้วต้องรอบรู้เพื่อใช้ตอบข้อซักถามของสมาชิกเราได้
    เพิ่มเติมนิดนึงอาจารย์ประพนธ์พูดประมาณว่าการตีพิมพ์ผลงานในวารสารมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนกัน โดยหลักความเป็นจริงการเมืองที่ว่านั่นคือความจริงที่ควรคิดได้เอง เช่น รู้ความต้องการของบรรณาธิการวารสารชื่อนั้นๆ
    และผลงานวิจัยที่ส่งไปตีพิมพ์จะยังไม่ตีพิมพ์จนกว่าผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์จะมีการตรวจสอบผลการวิจัยเมื่อยอมรับแล้วจึงให้ตีพิมพ์ได้
    ในกฎ 4 ประการข้อที่ 4 (Abstract ของการประชุมสามารถนำมาตีพิมพ์ได้)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร