Thailand's INNOPAC User Group

เมื่อวันที่ 3-4 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา เอ๋ได้ไปเข้าร่วมประชุมกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC ในประเทศไทย ที่หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
โดยที่หอสมุดฯ ของเรามีพี่จุ๋ม พี่ปอง พี่กาญ น้องหนึ่ง และตัวข้าน้อยเอง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ แต่ก่อนที่จะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้ฟัง ก็อยากจะบอกเล่าซักกะนิดว่า การประชุมที่ว่านี้คืออะไร และการประชุมนี้ก็มีเว็บไซต์ด้วยนะจ๊ะ http://iug.lib.kmutnb.ac.th/

การประชุมกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC ในประเทศไทย หรือภาษาฝรั่งเรียกว่า Thailand’s INNOPAC User Group หรือนิคเนมว่า “การประชุม IUG” หรือ “Thai IUG” จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ประมาณต้นเดือนธันวาคม (ใกล้ๆ วันหยุดเยอะๆ) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานจากทุกห้องสมุดที่ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ ความคิดเห็นและทราบถึงอุปสรรคของการใช้งาน ตลอดจนแนวทางในการแก้ปัญหา รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างห้องสมุดที่ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเดียวกัน ตลอดจนได้รับทราบถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ…
การประชุม IUG นี้ แต่ละห้องสมุดที่ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยในครั้งแรกนั้นสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เป็นเจ้าภาพ และแต่ละห้องสมุดก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเรื่อยมา รู้สึกว่าแชมป์การเป็นเจ้าภาพจะเป็น สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ขอปรบมือให้ดังๆ) จนถึงครั้งปัจจุบันซึ่งเป็นครั้งที่ 14 เจ้าภาพคือ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
รายละเอียดของการประชุมแต่ละวัน รู้สึกว่าเจ้าแม่บล็อก (พี่ปอง) ได้ว่าไว้แล้วในเรื่อง Go to Thai IUG #14th ส่วนในช่วงของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละโมดูลนั้น จะมีทั้งหมด 6 โมดูล คือ Acquisition, Cataloging, OPAC, Circulation, Serials, System และกลุ่มผู้บริการ (Administrator) อันตัวข้าน้อยเอง จะไปเข้ากลุ่ม System แต่ด้วยโดนข้อร้องแกมบังคับจากบรรดาพี่พี่ที่น่ารัก ขอให้ช่วยไปเป็นวิทยากรพูดเรื่อง Clean up data ให้ชาวประชาในโมดูล Cataloging ฟัง เลยทำให้ไม่ได้ไปแวะเวียนที่กลุ่ม System อย่างที่ตั้งใจไว้
ในโมดูล Cataloging นี้ มีน้องหนึ่ง (สุนทร) เข้ากลุ่มนี้ด้วย ยังไงๆ อย่าลืมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้พี่พี่ เพื่อนเพื่อน น้องน้อง บ้างล่ะ (ความรู้มิได้มีให้เก็บไว้คนเดียว…เน้อ) การที่ข้าน้อยต้องมาพูดเรื่อง Clean up data นี้ ก็ให้รู้สึกขัดใจเป็นยิ่งนัก (นึกในใจว่า บ้านเรา Clean บ้างมั้ยนะ …) แถมยังโดนแซวจากเพื่อนพ้องน้องพี่ซะอีกว่า บ้านตัวเอง Clean อ๊ะยัง… นั่นสินะ… 😳
แต่ในที่สุดก็ได้แลกเปลี่ยนกันเต็มที่ทั้งวิทยากร และผู้เข้าร่วม สนุกสนาน เป็นกันเอง ที่สำคัญได้รับความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานของตน ส่วนรายละเอียดของเรื่องที่พูด ก็อยากให้น้องหนึ่งมาเล่าให้ฟังก็แล้วกัน เพราะส่วนหนึ่งของการ Clean up ต้องมาจากฝ่ายวิเคราะห์ฯ แน่แน่ และพี่จุ๋ม พี่กาญ ด้วยนะจ๊ะ มาเล่าสู่กันฟังบ้างจ้ะ ว่าโมดูลที่พี่พี่ไปเข้านั้น เค้าว่ากันยังไงบ้าง…

สุดท้าย ไม่น่าเชื่อว่า 2 วันจะแบกขนมฝากพี่พี่ชาวขอนแก่นได้มากมายขนาดนั้น แต่ที่แน่แน่กระจายรายได้ให้จังหวัดนครปฐมซะ 4 พันกว่าบาท…ฮ่าฮ่าฮ่า….โอกาสหน้าอย่าลืมใช้บริการข้าน้อยอีกนะจ๊ะ… 😆 พบกันครั้งที่ 15 ที่ มหาิวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน…จ้า

3 thoughts on “Thailand's INNOPAC User Group

  • ก็แค่นั้นแหละ IUG เท่ากับ กลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่เรียกว่า INNOPAC บอกได้ใจความดีแล้ว หากตอบว่า กลุ่มผู้ใช้ INNOPAC พี่ก็จะถามว่า INNOPAC มันคืออะไร แต่พี่ขอเติมว่า โปรแกรม ก่อนคำว่า INNOPAC นะ ขอบคุณนะ

  • เราใช้ Milenium แล้วค่ะ เป็นพัฒนาการของ INNOPAC ซึ่งตอนนี้ไม่น่าจะมีใครแล้ว แต่ยังติดกับคำเดิมกันค่ะ ตอนนี้ก็มีพัฒนาการต่อเรียกว่า Encor หรือ อังกอร์ ปัจจุบันจุฬาฯ ใช้อยู่ค่ะ

  • มันเป็นชื่อที่เป็นทางการของเค้าน่ะค่ะ “การประชุมกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC ในประเทศไทย” ปัจจุบันระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC เรียกกันในกลุ่มผู้ใช้ว่า Millennium (แต่ก็เข้าใจว่าน่าจะยังคือ INNOPAC อยู่ค่ะ) เพียงแต่เป็นเวอร์ชั่น Millennium ตอนนี้คงเป็น release 2009
    และปัจจุบันก็ยังมีห้องสมุดในประเทศไทยที่ยังใช้ INNOPAC อยู่อีก 1 แห่ง คือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาล้ยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีค่ะ…เมื่อพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติของตนเองเรียบร้อยแล้ว คงจะเลิกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC ไปอีกราย

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร