การอ้างอิงแบบซ้ำๆๆๆๆๆๆ

เป็นคำถามของหนูใหญ่ ที่อดีตเป็นคนตัวเล็กถามว่า ผู้แต่งคนเดียวกัน พิมพ์หนังสือปีเดียวกัน แต่คนละชื่อเรื่องเวลาเขียนอ้างอิงจะรู้อย่างไรว่า เป็นของเล่มไหน
ข้าพเจ้าตอบไปว่า ให้ใส่อักษร “ก” หลัง พ.ศ. แต่มีคนทำหน้าเป็นแบบนี้ ??????? จึงไล่ให้หนูใหญ่ไปหาคำตอบด้วยตนเองในคู่มือ
หายไปสักพักจึงหยิบคัมภีร์เล่มใหม่ที่หยิบได้เร็วไม่ใช่อะไร คุณเธอเป็นศิษยืปัจจุบันที่ขระนี้กำลังร่ายเวทย์วิทยานิพนธ์อยู่ ทั้งนี้อุตส่าห์ลงทุนไป print จากแผ่นซีดีรอมที่บัณฑิตฯ แจก ในฐานะศิษย์ปัจจุบันมาหาอ่าน ก็เป็นอย่างที่บอกนั่นแหละ แสดงว่าความจำของข้าพเจ้ายังดี้ดี จึงขอมาขยายความต่อ เพราะวลาผู้ใช้ถามแบบธรรมดานั้นไม่ค่อยมี ชอบมีแบบแปลกๆ
แต่คำถามเมื่อครั้งที่แล้วกับครั้งนี้ยังอยู่ภายในวันที่ 30 กันยายน 2552 สถิติการทำงานจึงเป็นของปีปัจจุบัน 1 ตุลาคม มาถามกันเยอะนะคะ อยากตอบจ้า อยากตอบ
คำตอบอยู่ในหน้า 49 ของ คู่มือการจัดทำวิทยานิพนธื พ.ศ.2551 สรุปความได้ดังนี้
การอ้างอิง
ผู้แต่งคนเดียว เขียนเอกสารหลายเรื่อง พิมพ์เผยแพร่ในปีเดียวกัน ถ้าเป็นเอกสารภาษาไทย ให้กำหนดตัวอักษร ก ข ค กำกับไว้ต่อจากปีที่พิมพ์ เช่น (ธิดา สาระยา 2529 ก : 18)
หากเป็นภาษาต่างประเทศ ให้กำหนดอักษร a b c กำกับไว้ ต่อจากปีที่พิมพ์ เช่น (Gate 1968 a : 35)
ส่วนบรรณานุกรมก็เขียนตามปรกติ แต่ที่ไม่ปรกติคือเราไม่มีคู่มือนี้เลย หนูใหญ่ใจดีจึงต้องไปหาซีดีมาให้เพื่อที่จะได้ใช้เป็นคัมภีร์ใหม่แทนเล่มเดิมเก่าในบัดดล

6 thoughts on “การอ้างอิงแบบซ้ำๆๆๆๆๆๆ

  • พี่ปองลืมบอกไปอีกอย่างหนึ่งทีเขียนไว้คือการอ้างอิงในเนื้อหาแบบนามปี (ซึ่งน้องพิชัยมีประสบการณ์มาแล้วกับคำถามนี้ จากอ.ปรีดา เมื่อครั้งไปอบรมที่กำแพงแสน) และอย่าลืมบอกวิธีการเขียนบรรณานุกรมท้ายเล่มด้วยนะค่ะ สำหรับกรณีนี้ด้วยค่ะ เพราะเราหลายคนก็ไม่รู้เหมือนกัน อิอิอิ

  • จริงด้วย เพราะจะแยกระหว่าง “การอ้างอิง” กับ “บรรณานุกรม” ไม่ออก เพราะบางทีบอกว่าเขียนอ้างอิงไม่ถูก พอดูไปจริงๆ อ้างเป็นบรรณานุกรม ดังนั้นรับคำถามมาก็ฟังดีๆ ตอบดี ก็แร้วกัน

  • ให้บริการสารนิเทศ ประสานงาน หรือสอบถามกับบัณฑิตวิทยาลัย มศก. ว่าปีล่าสุดที่จัดทำคู่มือการเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ คือปีอะไร ของหอสมุด และ ที่จุดบริการสารนิเทศมี ปี 2543 อ้อพี่แมวเกรงว่าล่าช้าไป จึงโทรศัพท์ให้บริการสารนิเทศ(ผู้รับสายโทรศัพท์คือ ยาหยี) ให้ติดต่อแล้ว คงทราบว่าปีล่าสุดที่บัณฑิตฯ จัดทำคือปีอะไร จะได้นำมาแนะนำแกู่ผู้ใช้บริการที่เป็นนักศึกษาของเรา หรือบุคคลภายนอกที่ประสงค์ให้เราแนะนำ เราก็ต้องแนะนำตามรูปแบบของเรา ศิลปากร ต่อไป

  • ได้รับโทรศัพท์จากยาหยีแล้ว ทำให้ทราบว่าบัณฑิต ยังยึดและใช้ฉบับพิมพ์ ปี 2543 เหมือนเดิม และได้แจกนักศึกษาระดับบัณฑิตที่เข้าใหม่แต่ละปี จนปัจจุบันเป็น CD พี่แมวสั่งการให้ยาหยี ประสานงานกับหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ เพื่อจัดทำตัวเล่มออกบริการบนชั้นด้วยอย่างน้อย 2 ฉบับ(copy) แต่ที่แน่ๆ จุดบริการสารนิเทศต้องมีประจำตลอดนะจ๊ะ

  • อีกครั้งนะ พี่แมวตรวจสอบเอง ก็วิญญาณบรรณารักษ์ Ref. เก่า ที่ยังไมีมี ไอทีเป็นตัวช่วยเหมื่อนปัจจุบัน ต้องใช้สมองของตัวเองตลอด ก็พอมีเทคนิคเฉพาะตัวในการช่วยผู้ใช้บริการ พบว่าหอสมุดของเรามี่ 3 copy ชื่อเรื่องว่า คู่มือการพิมพ์วิทยานิพนธ์ ปี พ.ศ. 2543 ( LB2369 ม583 ) แต่ที่จัดทำปีก่อนหน้านี้ คือ ปี 2533 ชื่อว่า คู่มือการเรียบเรียงวิทยานิพนธ์ ปี 2533 ซึ่ง เคยบอกกับบรรณารักษ์หลายคนว่า มีปี 2543 นะ ก็เถียงอยู่นั่นแหละว่า ไม่มีๆๆๆ บนชั้นมี ปี2533 เท่านัน จนพี่แมวบอกว่า ให้เช็คย้อน จาก call no. เล่มที่ถืออยู่ในมือ(เล่มที่ใช้ ณ สารนิเทศ) หรือชื่อเรื่องที่ปกในก็ได้ ก็ยังยืนยันว่าบนชั้นไม่มี เหนื่อยใจจัง แล้วผู้ใช้บริการจะได้ข้อ สารนิเทศ ตอบผู้ใช้ถูกต้องไหมนี่ ไม่อยากให้จำอย่างเดียวว่ามี ไม่มี สมองจำไม่หมดหรอก เรื่องมันเยอะแยะ อย้่างไรก็ตามเรื่องนี้ได้เสนอหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ พิจารณาถอนเล่มปี 2533 ออก หรือหากไม่ถอน ให้NOTE ว่า ให้ใช้ปี 2543 ชื่อเรื่อง คู่มือการพิมพ์วิืทยานิพนธ์ ปี 2543 ด้วยแล้ว เมื่อ 28 ก.ย. 2552

  • งานนี้พิสูจน์ว่าห้องสมุดคือศูนย์กลางทุกอย่างไร ขอบคุณค่ะพี่แมวที่ตรวจสอบให้
    บัณฑิตฯ บอกว่าให้ยึดปี 2543 ซึ่งคงเป็นปีที่มีการปรับปรุงเนื้อหา แต่หน้าปกของที่หนูใหญ่มีบอกว่าเป็น คู่มือการจัดทำวิทยานิพนธ์ พ.ศ.2551 ซึ่งคงเป็นปีที่หนูใหญ๋เข้าไปเรียน จึงทำให้พวกเราสับสน แต่ไม่อลหม่านแล้ว (มั้ง)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร