Plagiarism

ใน Wiki บอกว่า Plagiarism คือ การโจรกรรมทางวรรณกรรม หรือ การขโมยความคิด หมายถึง การลอกงานเขียน ความคิดหรืองานสร้างสรรค์ดั้งเดิมทั้งหมดหรือบางส่วนที่เหมือนหรือเกือบ เหมือนงานดั้งเดิมของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นงานดั้งเดิมของตนเอง และอธิบายว่า การโจรกรรมทางวรรณกรรมต่างกับการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้ทั้งสองคำนี้ใช้กับพฤติกรรมที่คล้ายๆ กัน เพียงแต่เน้นการละเมิดที่ต่างมุมกัน การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดสิทธิ์ด้วยการไม่บอกกล่าวกับผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่งโจรกรรมทางวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับการสร้างชื่อเสียงให้ตนเอง ของผู้กระทำด้วยการแอบอ้างว่าตนเป็นผู้เขียน
คุณรุจเรขา แห่งห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข เขียนไว้ในเรื่อง plagiarism คืออะไรใน blog ของห้องสมุดสตางค์ว่า
” สมัยนี้การเขียนบทความทางออนไลน์ ทำให้การ “ตัด-แปะ” (cut & paste) ทำได้ง่ายมาก เด็กนักเรียนบ้านเราก็ชอบมาก ที่จะค้น google แล้ว ตัด-แปะ ข้อมูลที่ได้จาก wikipedia เพื่อทำการบ้านส่งครู … นักศึกษาตัดแปะข้อความจากบทความคนอื่น มาใส่ในวิทยานิพนธ์ของตน … เรียกว่าเป็น “Cyber-Plagiarism”
(สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ตามอ่านได้ที่     http://stanglibrary.wordpress.com/2008/07/07/plagiarism-คืออะไร/)
เคยไปฟ้งบรรยายเรื่อง Turnitin อ่านว่า turn-it-in  ซึ่งเป็นโปรแกรมใช้ตรวจ plagiarism  แต่ลืมวิธีใช้ไปแล้วล่ะ  ในขณะนี้มีอยู่หลายมหาิวิทยาลัยเหมือนกันที่ซื้อไว้ใช้ ในที่นี้ สำหรับคำว่า turnitin ก็จึงเพียงแต่นำมาให้น้อง ๆ ไ้ด้รู้จักว่ามันคืออะไร หน้าตาของ สัญลักษณ์โปรแกรมเป็นแบบนี้ picture001
ในยุคของฟรีดีกว่าเช่นนี้ หากเราจะต้องศึกษาโปรแกรมพวกนี้แล้ว เราหันไปหาของที่เป็น open software กันเถอะ มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือก ยกตัวอย่างเช่น
Article Checker เป็น เว็บไซต์ที่เราสามารถใส่ข้อความที่เราต้องการตรวจลงไปในช่องใส่ข้อความ แล้วสั่งตรวจ มีเปรียบเทียบระหว่าง google กับ yahoo ให้ด้วย ลองใช้ได้ที่ www.articlechecker.compicture002
Copyscape เป็นเว็บไซต์บริการตรวจสอบว่าข้อมูลบนเว็บของเรา มีซ้ำกับใครหรือไม่   มีทั้งแบบ ฟรี (Free Services) และแบบเสียตังค์ (Professional Services)   ซึ่งเขาบอกว่า more powerful  ลองใช้ได้ที่   www.copyscape.com

Dupli Checker อยู่ที่  www.duplichecker.com เป็น Free online Plagiarism Detection Tool  มีช่องให้ใส่ข้อความเหมือนกัน  และมีเขียนขั้นตอนการใช้งานแบบเบื้องต้นง่าย ๆ ไว้ใกล้ๆ ช่องใส่ข้อความด้วย
picture0032
Wcopyfind เป็นโปรแกรมฟรีที่ใช้ในการตรวจซ้ำเนื้อหาของเอกสาร
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่ง จิ๊บ จิ๊บ  แต่ข้าพเจ้าเองก็ยังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียด เลยแบ่งปันกันแบบเป็ด ๆ ไปก่อน เดี๋ยวได้ลองใช้ ลองทำ แล้วจะกลับมาเพิ่มเติมใหม่
ในแบบไทย ไทย ง่าย ง่าย ลองใช้  google ของถนัดนี่แหละ ใช้ตรวจสอบได้เช่นกัน ทำอย่างไร ลองทำดูนะ..
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การหลีกเลี่ยงที่จะไม่โจรกรรมหรือขโมยความคิดผู้อื่นนั้น ง่ายนิดเดียว คือ ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง  อ่านของใครมาก็ให้เกียรติโดยการอ้างอิงเจ้าของความคิดและผลงานนั้น..

One thought on “Plagiarism

  • เคยถามน้องที่ใช้ชีวิตในเมืองนอกและเขียนหนังสือเลี้ยงชีพว่าทำอย่างไรสำหรับการตรวจสอบภาษาไทย เขาทำบอกว่าให้ตัดข้อความแล้วใส่ไปใน google ก็จะพบ
    สำหรับเรื่องนี้คุยกับพี่พัชว่าบรรณารักษ์จำเป็นต้องรู้เรื่องพวกนี้ เพราะ้เผื่อมีอาจารย์มาถามว่ามีวิธีการไหม เพราะปีที่แล้วตัวเองเคยมีคนมาถามเช่นกัน แต่ตอนนั้นยังไม่รู้จักพวกฟรีแวร์ รู้จักแต่ turnitin ได้แต่เรียนผู้ถามว่ามีโปรแกมตรวจสอบได้และให้ใช้ googleสุ่ม สอบ ตอนนี้คนถามไปไหนแล้วไม่รู้เลยไม่ได้ตอบต่อ ส่วนโปรแกรมทั้งหมดช่วยๆ เข้าไปใช้กันหน่อยเพื่อจะได้มาแลกเปลี่ยนกัน

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร