คนพันธุ์เน็ต

เนื่องจากเป็นพี่ใหญ่สุดในการไปร่วมประชุมสัมมนาเรื่อง การเรียนรู้ที่มีคุณภาพสำหรับคนพันธุ์เน็ต ซึ่งเป็นการประชุมระดับนานาชาติ จัดโดยเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์การระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ย่อว่า ควอท. เมื่อวันพฤหัสและศุกร์ที่ 16-17 กรกฎาคม 2552 ที่โรงแรมดิอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค สุขมวิท กรุงเทพฯ
เนื้อหาที่จะนำมาเล่าในนี้คงไม่สามารถอธิบายรายละเอียดอะไรได้มากมาย เพราะรายงานที่ทำส่งผู้บริหาร แบบว่าทำสั้นๆ ยังยาวถึง 7 หน้ากระดาษ เอาเป็นว่าในการประชุมครั้งนี้มีอาจารย์จากที่ต่างๆ มาร่วมงานมากมาย แต่เขาว่าน้อยกว่ามากๆ กว่าปีที่ผ่านๆ มา คงเพราะกลัวไข้หวัด2009 ผู้มาประชุมส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งศาสตราจารย์ ดร. ส่วนหัวข้อที่จัดก็มีหลากหลาย คงเผื่อให้ผู้ฟังเลือกว่าจะฟังหัวข้อใด แนวการจัดก็มีทั้งที่เป็นบรรยาย อภิปราย (แบบว่าต่างคนต่างพูด) และการนำเสนอกลุ่มย่อย
ความที่เป็นอินเตอร์ ทำให้เนื้อหาที่จัดเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ส่วนวิทยากรที่พูด ตอนแรกก็ฟังงว่าเป็นอินเตอร์มากๆ เพราะพูดเป้นภาษาปะกฤษ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะวิทยากรเป็นชาวอเมริกัน มาให้ความหมายของคนพันธุ์เน็ตว่า
เป็นผู้ที่เกิดระหว่างปี ค.ศ.1977-1997 (พ.ศ.2520-2540) ที่โตมาพร้อมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีนิสัยชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบ ไม่ชอบเงื่อนไข ต้องการความชัดเจนว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วยงานอย่างไร มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร สามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน มักชอบอยู่เพียงลำพัง ไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติง เพื่อการปรับปรุงและ พัฒนาตนเอง คาดหวังสูง จึงเกิดความเครียดได้ง่าย
เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการเป็นผู้ใช้เน็ตมาเป็นผู้บริหารจัดการระบบให้เป็นรูปแบบตามที่คาดหวัง พร้อมที่จะทำงานหลายอย่างให้ตนเองและช่วยผู้อื่นในขณะเดียวกัน เปลี่ยนสถานภาพจากการเคารพผู้อาวุโสเป็นการให้ความเท่าเทียมกันกับทุกคนกลุ่มอายุ เปลี่ยนจากการยึดลำดับผู้บังคับบัญชา/ผู้น้อย เป็นการตัด-ปะ และการสร้างสรรค์ใหม่ร่วมกัน ทั้งเป้นกลุ่มที่ชอบคิด ทำงานเป็นคู่ และแบ่งปันกัน (แยกส่วนกันทำและนำมาเชื่อมต่อกัน)
เป็นบุคคลที่รักอิสระ (freedom) มีการปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการแต่ละบุคคล (cumtomization) มีการตรวจสอบ (scrutiny) ต้องการความสมบูรณ์ (integrity) ชอบการติดต่อสื่อสารเพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่เกิดความขัดแย้งโดยมีเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วย (collaboration) สดใสเป็นสุข (entertainment) ว่องไว (speed) และสร้างสรรค์งานใหม่ (innovation)
จากลักษณะดังกล่าว จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สอนต้องสร้างห้องเรียนหรือทำมหาวิทยาลัยให้มีลักษณะเท่าทันยุค 2.0 ด้วยการจัดการสอนวรรณกรรมที่จัดเก็บด้วยระบบดิจิตอล ผู้สอนมีประสบการณ์และมีท่าทางกระตือรือร้น มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้เรียน สามารถเชื่อมต่อหรือปรับตัวอยู่ร่วมกับพวกเขาได้ทันท่วงที สามารถทำหน้าที่ระหว่างผู้สร้างและผู้บริโภคแทนการทำหน้าที่เป็นผู้สอนหรือผู้ให้เพียงอย่างเดียว ผู้สอนต้องพร้อมจัดหา-นำเสนอองค์ความรู้หลากหลายเพื่อการเรียนรู้เรื่องต่างๆ สนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ สร้างกิจกรรมที่ต้องเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน สร้างโอกาสสำหรับการเชื่อมต่อและให้มีผลสะท้อน (feedback) กลับทันเหตุการณ์ ขณะที่ผู้เรียนชอบที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ที่ให้ประโยชน์ต่อตัวเขาได้สะดวกรวดเร็ว เช่น สารานุกรมเสรีวิกิ เครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยบริหารจัดการเข้าถึงองค์ความรู้ การนำเสนอในรูปเว็บ-สไลด์-ภาพเคลื่อนไหว เช่น การ์ตูนหรือภาพเสมือนอื่นๆ และนิยมใช้เครื่องมือหลากหลายที่ช่วยการฟัง เช่น ไอพอต เครื่องบันทึกเสียงที่เก็บเสียงได้หลายชนิด (audacity)

สิ่งที่วิทยากรอยากถามผู้ฟังก็คือ เรารู้จักนักศึกษาของเราและความชอบของเขาหรือยัง เราเคยตระหนักไหมว่าควรทำอะไรอย่างไรที่จะพัฒนาตนหรือปรับตนหรือหาวิธีประนีประนอมให้กลุ่มเด็กยอมรับเรา และอะไรคือความสมดุลระหว่างการจัดสภาพกายภาพแห่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กของเรา

ส่วนหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจอีกเรื่องก็คือ การจัดพื้นที่ส่วนหนึ่งของหอสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือที่รู้จักกันในนาม “บางมด” ที่เข้าใจลักษระของคนพันธุ์เน็ตและผู้บริหารเห็นความสำคัญของหอสมุด จึงทุ่มทุนสร้าง/ปรับแต่งบางชั้นใหม่ให้ตรงตามสเปคผู้เรียน เช่น ทำห้องทุกห้องให้ใส มองเห็นได้ว่าเพ่อนๆ เขาทำอะไรกัน แต่ไม่ได้ยินเสียงว่าใครพูดอะไร มีอุปกรณ์สำหรับเขียนหรือมองดู ก็ทำเป็นกระจกใส ผู้เรียนสามารถเขียนศัพท์อะไรที่ตนชอบตามฝาผนัง ประตูได้ ถือเป็นองค์ความรุ้ใหม่ของคนพันธุ์เน็ต โซนที่กล่าวนี้เขาเรียกว่า คลินิก (Klinics – Kmutt’s Learning and Information Commons) เป็นบ้านแห่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนอยากเรียนตามอิสระและทำงานเป็นทีม เพราะมีการแบ่งกลุ่มกายภาพออกเป็น Knowledge ; Mutimedia ; Update (แหล่งหาข้อมูลเร็ว เช่นที่ check mail, แจ้งข่าวด่วน) ; Thinking (ทบทวนเงียบๆ) ; Tutorial (พูดคุย) ขณะนี้ได้สร้างคลินิก4 แล้ว ใช้ชื่อว่า Form and Function are One

ใครที่อยากรู้ว่าห้องสมุดดังกล่าวเป็นอย่างไร คงต้องหาโอกาสไปดูงานแล้วล่ะ

4 thoughts on “คนพันธุ์เน็ต

  • มาเจ๋อ…เอ้ย!! ม่ายช่ายๆ มานำเสนอ Face เล็กน้อย
    ในฐานะ สว.ลำดับ 2 (เอ…3 สินะ นู๋ใหญ่ สว.กว่า 555)
    ในฐานะที่ไปร่วมประชุมด้วยกัน เด๋วค่อยมาขยายความต่อป้าหน่อยนะ วันนี้ไม่เอาโพยมา เด๋วโม้ผิด
    เป็นว่าชูจักกะแร้กับพี่หน่อยก่อน เรื่องอยากไปดู๊ไปดู Klinics ของบางมด ไม่ต้องหะรู เท่าเขาก็ได้
    ศูนย์เรียนรู้ตามอัธยาศัย หรือชื่อไรจำไม่หนัดน่ะ ที่เราคิดๆ กันว่าจะทำที่ ตึก มล.ปิ่นฯ น่ะ แบบเอาแค่แนวๆ น่ะ
    แต่ถ้าจะให้แน่นอน ขอ E-board ด้วยละกัน (เขาเรียกอะไรนะพี่หน่อย..บอกแล้วไม่มีโพยมาจำมะด้ายง่ะ)
    แต่ประการหลังเนี่ยป้าแมวคงให้รอ อีกสัก 3 ชั่วอายุน่ะ 5555 เป็นว่าไปเที่ยวบางมดกันก่อนก็ได้นะป้าแมวขา..อยากไป๊อยากไป

  • บอร์ดที่ว่ามีลักษณะและขนาดคล้ายกระดานไวท์บอร์ด แต่เขาเรียกว่า สมาร์ทบอร์ด ที่ทำหน้าที่เหมือนจอคอมพิวเตอร์ แต่ดีว่าตรงที่มือสัมผัส ใช้มือเลื่อนขึ้นลง หรือใช้ขีดเขียนสิ่งต่างๆ ได้ จึงหมาะสำหรับการสอน งานติว แน่นอนถ้ามีบริการ นักศึกษาต้องชอบมาก เข้าคิวขอใช้ แต่ค่าบำรุงรักษาไม่รู้เท่าไร และมันอยู่ตัวเดียวโดดๆ ไม่ได้ ต้องมีจอแอลซีดีและโน้ตบุ๊กร่วมด้วย เพราะจอประเภทนี้เหมาะสำหรับนำเสนองานให้กลุ่มหใญ่ๆ และสะดวกในการเคลื่อย้าย ถ้าห้องสมุดมี คิดว่าคุ้มนะ เรามีแขกมาชมหอสมุดบ่อย มีปฐมนิเทศบ่อย และยังใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ นอกสถานที่ได้ด้วย
    ฝากสมาชิกที่ไปสัมมนาร่วมกัน ช่วยเติมเต็มสิ่งที่ขาดหรือยังไม่ถูกต้องครบถ้วนให้ด้วย….

  • จันทร์เป็ง ว่าไง ไปประชุมกับเขามา มีความเห็นว่าไงบ้าง คุณสม (ฝ่ายวิชาการ) ว่าไงบ้าง ขอความเห็นหน่อย หะแรก ไปดูงานบางมดและใกล้เคียง เป็นการพัฒนาคนอีกทางหนึ่ง ยังทำไม่ได้ขอไปดูก่อน แล้วค่อยมา apply อีกเรื่องก็ การปรับเปลี่ยน ห้องชั้น 2 อาคารหอสมุดได่ไหม ห้องใสๆๆ ใกล้ห้อง Computer note book นะแหละ สำหรับบอร์ดที่ว่า เหมือนธุรการ หรือ ที่ใกล้โต๊ะปอง กระจกห้องหัวหน้าหอสมุดไปก่อน ได้หรือเปล่า ฮ่าๆๆ

  • เรื่องนี้ยาวค่ะ ว่าจะเขียนเม้นต์ตั้งแต่เมื่อวาน แต่ยุ่งๆ เลยไม่ได้เขียน ไหนๆ พี่แมวขอความเห็นแล้ว ก็จัดให้เลยค่ะว่า ความเห็นของหนูการสร้าง library common หรือ information common หรือ library space นั้นต้องเข้าใจ Net Gen อย่างแท้จริง จริงจังและตลอดเวลา ไม่แบบผลุบๆ โผล่ๆ บางเรื่องเข้าใจ บางเรื่องไม่เข้าใจ เท่าๆ กับเข้าใจเรื่องของ social networking ความเปลี่ยนไปของไอที และ KM ส่วนเรื่อง infrastructure หากมีเงิน มีสถานที่ก็ทำได้ค่ะ แต่เรื่องความเข้าใจทั้งกระบวนการมีเงินทำไม่ได้ ต้องใช้รอเวลาสร้างความเข้าใจกับคนทำงาน ยิ่งถ้าไม่เปิดทั้งใจทั้งความคิด ตาม concept ของ web 2.0 รวมทั้งกระบวนการของ KM ด้วยแล้วลำบาก เพราะสิ่งที่ลงทุนไปนั้นก็ไม่ต่างจากร้านเน็ต หรือร้านกาแฟที่ในกรุงก็มีแบบนี้ ที่ลูกค้าเข้ามาแล้วก็ออกไป KPI ที่ได้เป็นแค่จำนวนที่เข้ามาเพิ่มขึ้น ก็เท่านั้น
    การจัดกิจกรรมเสริมและความชัดเจนที่จะสร้างความเป็น common ขึ้นมาเพื่ออะไรเราคงต้องดีไซน์องค์กร ต้องมีกิจกรรมรองรับ ต้องทำความเข้าใจคนทำงานในจุดนี้ เพราะเราและเขาต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ขณะที่เขาจะยึดเราเป็นที่พึ่ง เพราะไม่รู้จะไปพึ่งใคร ส่วนเราบางครั้งก็อยากให้พึ่ง บางคราก็อยากให้ไปไกลๆ
    หากไม่มีความชัดเจนดังกล่าวเวลาที่ Net Gen เข้ามาแล้วไม่ได้ทิ้ง content หรือเนื้อหาู้ที่เกิดจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ศึกษา วิจัย ให้กับรุ่นน้องหรือมหาวิทยาลัย ก็เท่ากับพวกเขาไม่ได้สร้างความเป็น Social Networking ความเป็นรุ่นพี่รุ่นน้อง ความเป็นศิษย์เก่าก็จะหายไป หรือมีเป็นเฉพาะกลุ่มเล็กๆ แต่ไม่มีน้องพี่เวอร์ริเดียนที่ผูกพันและย้อนกับมาดูแลรุ่นน้องๆ และดูแลมหาวิทยาลัย อย่างที่ใครๆ ก็อยากให้เป็นอย่างต่างประเทศ
    หรือหากมีกระบวนนี้ แต่ไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาจัดการ (Web 2.0 …3.0…) ก็จะหายไปตามเวลาหรือไปตามคน เพราะเมื่อจดในสมุดเนื้อหาก็เป็นเจ้าของสมุด เล่าให้ใครฟัง คนที่รู้ก็คือคนที่ฟังซึ่งก็จำได้ไม่หมด เป็นเอกสาร Net Gen ก็ไม่ชอบอ่าน หรืออยากอ่านแต่หาไม่พบ เพราะไม่มีคำให้ค้น ในลักษณะของการชอนไชไปถึงเนื้อหา ส่วนวัสดุอุปกรณ์ที่จัดหาเข้ามาก็จะหมดสภาพไปกาลเวลา หรือกระทั่งอาจมี trends ใหม่ ที่เข้ามาให้ต้องทำ ก็ต้องลงทุนกันอีก
    เห็นด้วยกับพี่แมวบอกว่าเราสามารถใช้สิ่งที่มีอยู่ได้ มีพื้นที่ให้นำเสนอ เช่่น ได้เคยบอกน้องอ้อกับพี่พัชว่า ปีหน้าเราน่าจะทำ The way of knowledge กับกระจกตรงทางเชื่อม ฝั่งซ้ายเป็น การนำเสนอข้อมูงของ ศต. ฝั่งขวาเป็นการแนะนำหนังสือ เป็นต้น หรือตรงกระจกข้างพี่แมวคุณสมเกียรติก็ใช้พื้นที่ตรงนั้นเขียนโมเดลที่จะต้องทำงานต่อไป
    แต่ยังไงก็ต้องมองภาพและอธิบายทั้งกระบวนการได้ว่าแต่ละโครงการและงานต่างๆ ของหอสมุดฯ สอดคล้องและสนับสนุน และจะให้ Net gen เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร ของหอสมุดฯ เราก็มีหลายกิจกรรมที่วางรากฐานแบบนี้อยู่ แต่เพิ่งเริ่มอย่างกระเตาะกระแตะ ความต่อเนื่อง กับช่วงเวลาเป็นสิ่งสำคัญ เพราะพวกเขาอยู่กับเราแค่สี่ปี ต่างคณะ ต่างความคิด ช่วงเวลาในแต่ละเดือน แต่ละสัปดาห์การใช้ชีวิตก็ต่างกัน
    ศูนย์คอมพิวเตอร์ ก็มี Space แบบนั้น แต่ก็เป็นเืรื่่องของ infrastructure เช่นกัน (ขอโทษนะเกียรติที่พาดพิง) แต่คนต้นคิดก้ไม่ได้อยากให้เป็นแบบนั้น เหมือนๆ กับหอสมุดฯ ก็มี Knowledge Park@Library ที่ให้โอกาสเด็กในการทำกิจกรรม รวมถึงกิจกรรมย่อยๆ แต่ก็ขาดเรื่อง infrastructure ซึ่งได้เขียนไว้แล้วใน http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=5027
    สำหรับที่ มจธ. นั้น ขอแสดงความคิดเห็นตามที่ได้อ่าน ได้ยิน ได้ฟังมาว่า โครงสร้างของมหาวิทยาลัยเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบ นโยบายของมหาวิทยาลัยชัดเจน ทั้ง KM World Class IT ส่วนบุคลากรมีประเมินที่เข้มข้น จึงเป็นรากฐานให้เขาไปเร็วและแรงงงงง ลองเข้าไปดูเว็บไซต์เขาซิ
    ส่วนเรื่องการดูงานนั้นเห็นด้วย เพราะจะได้รู้แจ้งเห็นจริงว่าที่อื่นเขาเป็นอย่างไร คิดอย่างไร ทำงานกันอย่างไร แต่เมื่อไปก็อยากให้ดูทั้งระบบ แล้วกลับมาช่วยกันคิด มาปรับสิ่งที่มีอยู่ แล้วดีไซน์องค์กรว่าจะใช้ชีวิตกันอย่างไรแน่ งบประมาณ กับ ไอที เป็นแค่เครื่องมือ หากเงื้อๆ ง่าๆ แล้วยังเหมือนเดิมก็คงเหมือนเดิม
    สุดท้ายก็คงไม่พ้นคำนี้ทุกอย่างก็เริ่มที่ตัวเองทั้งนั้นแหละ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร