Open books … Open eyes

สมัยเรียนดิฉันจะคุ้นชินกับการทำข้อสอบแบบ open books มาก และเป็นการทำข้อสอบแบบอกสั่นขวัญแขวน ตามประสบการณ์สิ่งที่พบคือหนังสือในสาขานั้นๆ จะหายวับไปจากชั้น ส่วนดิฉันงุ่มง่ามกว่าจะไปถึงก็พบกับชั้นหนังสือที่ว่างปล่าว
แต่ความกลัวที่จะไม่มีหนังสือไป Open จีงยืมหนังสือแบบเรื่อยเปื่อยที่ชอบอ่าน และเน้นหนักไปทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และหนังสือที่เข้าใจความเป็น “มนุษย์” และพลิกอ่านหนังสือทุกเล่มที่จะแบกไป Open ในใจแค่คิดว่าต้องมีสักบรรทัดแหละที่นำมาตอบข้อสอบได้ เนื่องจากหยิบหนังสือแบบนั้นไป หน้าที่คือพยายามตอบคำถามของครูให้เข้ากับหนังสือที่เรามี เนื่องจากหนังสือที่เรามีต่างจากคนอื่น คำตอบเราจึงต่างกับคนอื่นๆ และเรื่องราวของ “มนุษย” จะเป็นคำตอบให้กับการทำงานในทุกเรื่อง ต่างที่ทุกเรื่องนั้นจะอยู่ตรงแง่มุมไหน  เช่น อยู่ในห้องสมุดก็จะมุมมองของเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ผู้ใช้บริการ บุคคลที่เราต้องติดต่อด้วย
อาจารย์ พญ.สอางค์ ด่านสว่าง บอกว่า …อย่างไรก็ตามสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ความรู้ต่าง ๆ มีมากมาย ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ผู้เรียนควรรู้วิธีที่จะดำเนินการต่อข้อมูลที่ได้ ลักษณะคำถามที่ดีในการสอบแบบเปิดหนังสือหาคำตอบระหว่างสอบ คือ ต้องไม่มีคำตอบตรง ๆ ในหนังสืออ้างอิง ควรสามารถทดสอบทักษะความคิดอ่านระดับสูงได้โดยมีลักษณะทดสอบการให้เหตุผล การเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ทักษะทางสถิติ การแปลผล การแก้ปัญหา การใช้ข้อมูลจากตารางหรือกราฟ เชื่อว่าการสอบแบบเปิดหนังสือหาคำตอบระหว่างสอบสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงได้… จาก http://thailand.digitaljournals.org/index.php/BMJ/article/viewFile/11798/11230
พอมาถึงชีวืตของการทำงานเป็นความซับซ้อน ทับซ้อน มีเงื่อนปม ในเรื่องของวิธีคิด วิธีการทำงาน อารมณ์ ความรู้สึก อัตตา โชคชะตา ประสบการณ์ ฯลฯ ยากที่หาหนังสือมาให้คำตอบแบบ Open books เพราะถึงจะมีวิธีการสอบแบบนี้ แต่ก่อนที่จะสอบแบบนี้ผู้เรียนก็ต้องผ่านบทเรียน 1 2 3 4 มาก่อน
การทำงานไม่มีตำราเรียนที่เริ่มจากบทที่ 1 2 3 4 ไม่มีใครบอกอะไรได้ครบทุกเรื่อง มีแต่บอกระเบียบ วิถี วิธีแบบ on the job แม้อยู่ที่นี่มายี่สิบกว่าปีก็ยังไม่รู้ทุกเรื่อง ยังต้องอาศัยความรู้ทั้งจากรุ่นพี่ๆ และรุ่นน้องๆ อยู่ทุกเมื่อเชื่อวันทักษะที่ได้จากการเรียนหนังสือจึงยังไม่พอ
เมื่อหลายปีก่อนพวกเราต้องทำ Procedure ในการทำงานที่เต็มไปด้วยเส้นลากโยงใย แต่ภายใต้เส้นมีบทเรียนที่ร่ำเรียนทั้งในและนอกห้องเรียนแอบซ่อนอยู่ “ขออนุมัติ” “ดำเนินการต่อไป” “เพื่อโปรดพิจารณา” ฯลฯ ไม่ได้ง่ายแบบการออกเสียงแค่สี่ห้าพยางค์
สอง สาม สี่ ห้า ปี่ก่อน กระแสของ Change, Share, Open มาแบบเบียดเสียดชนิดไหล่ติด ดิฉันนึกขอบคุณโอบลามา และเรื่องราวของ web 2.0 ที่ทำให้ดิฉันได้เขียนและทำมาหารับประทานได้จนปัจจุบัน
changebelieve
ปีที่แล้วในการสัมมนาประจำปีของสำนักหอสมุดกลาง ท่านอธิการบดี ท่านที่ปรึกษาและท่านผู้บริหารได้พูดเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ด้วยเช่นกัน การได้กลับไปอ่านเรื่องราวที่เราเขียนรายงานเป็นการทบทวนความคิดของเรา ณ ขณะนี้ โดยย้อนกลับไป ณ ขณะนั้น
ในฐานะที่ ต้องอ่านเอกสารทุกชิ้นที่แต่ละคนเขียนรายงานขึ้นมา จึงเสียดาย หากเรามีกิจกรรมให้แต่ละคนสังเคราะห์สิ่งที่ฟังมาก็จะดีไม่น้อย แต่คงไม่ทำจริง เพราะอาจดู “เยอะ” แค่อยากฝากไว้เป็นประเด็น
เมื่อวานเดินโชชัดโชเชไปพบว่ามีมุมหนึ่งของหอสมุดฯ ที่เปลี่ยนไป ไม่ได้ใช้ทักษะอะไร แค่ Open eyes ดิฉันแสดงอาการกรี๊ดกร๊าด ถ่ายรูปไว้หลายรูป เพราะถือว่าเป็นการตอบโจทย์และตีโจทย์ได้ ส่วนประเด็นใดจะตามมาของอุ๊ปส์เอาไว้ก่อน
west
ส่วน Open eyes มีนัยยะมากมาย เพราะการมองเห็นเป็นการรับรู้ด้วยตา ส่วนภาพที่เห็นแล้วตีความเป็นการรับรู้ด้วยสมอง และก็ควรมีข้อควรระวังคือการมองภาพลวงตา ที่สงสัยว่าตาหลอกสมอง หรือสมองหลอกการมองเห็นผ่านดวงตา
เนื่องจาก “ตา” ของดิฉันมีลักษณะเป็นสระอิ ยิบหยีเรียวเล็กกว่าใคร จนมีเพื่อนถามว่า ถามจริ๊งแกมองเห็นโลกเท่าฉันมั๊ย? เคยเล่าให้คุณใหญ่ฟัง เพราะตาเธอโตกว่าใครๆ
พอดิฉันพูดถึงเรื่อง Open eyes มีคนมองหน้าดิฉัน เลยถามว่าอยากรูปคำแปลป่ะ เธอคนนั้นมองหน้าบอกว่ากลัวคำแปล…. ใครอยากรู้ต้องมาถามใกล้ๆ แล้วจะบอก :mrgreen:

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร