พิพิธภัณฑ์มีชีวิต (1)
พี่ปองมีพรวดพราดทัวร์ ของอ้อเป็นอะไรดีล่ะ เดลิเวอร์รี่ทัวร์ หรือ ตามสายทัวร์ มั้ง หลังจากไปทัวร์เก็บข้อมูลที่จ. สุพรรณบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พ.ค. พอตอนสายวันอังคารที่ 26 พ.ค. วันถัดมากะช่วงเวลาสักประมาณ 9 โมงเช้า พีี่ปองก็กริ่งกร๊างโทรมาว่า คณะทำงานฯ ของมหาวิทยาลัยฯ จะไปเก็บข้อมูลที่ ต.ดอนแร่ และต.คูบัว เกี่ยวกับการทอผ้าจกไท-ยวน ห้องสมุดก็จะติดสอยห้อยตามไปเก็บข้อมูลด้วย จึงจะให้เราเตรียมตัวไป ถ้าถามว่าพร้อมไหม เดี๋ยวนี้ต้องพร้อมทุกสถานการณ์ (ซึ่งตอนหลังนี้หลังจากลงมาทำงานให้ศูนย์ข้อมูล ภายในกระเป๋าต้องมีกล้องถ่ายรูป, ที่บันทึกเสัยง และอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้พร้อม แบตเตอร์รี่ต้องเต็มทุกก้อน) รถของคณะทำงานฯมารับตอน 10 โมงตรง เราก็รีบไปขึ้นรถ ซึ่งทัวร์ในวันนี้ก็ประกอบไปด้วย อาจารย์สุรศักดิ์ทำหน้าที่ไกด์ พี่สอาด (หรือพี่ต๋อง)ทำหน้าที่ถ่ายรูป พี่ดำรงชัย ทำหน้าที่ถ่ายวิดีโอ น้องวิไลรักษ์ (หรือนกเล็กแห่งโครงการจดหมายเหตุฯ)ทำหน้าที่จดบันทึก และอาจารย์บุญชัยไกด์กิติมศักดิ์ (อาจารย์จากวิทยาลัยในวังชาย) สถานที่แรกที่เราไปกันคือ บ้านคุณลุงสมบุญ ที่ตำบลดอนแร่
ซึ่งคุณลุงเป็นผู้ริเริ่มฟื้นฟูการทอผ้าจกไท-ยวน มาตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ.2520 โดยการรวบรวมผ้าทอที่ใช้กันในหมู่บ้าน แล้วมาคัดลอกลายผ้าจก ลงในกระดาษที่ตีตารางคล้ายลายตารางของการปักครอสติส โดยคุณไปเห็นเด็กๆ เค้าปักผ้าจากลายครอสติส คุณก็เลยนำมาประยุกต์ใช้กัยลายผ้าจก ซึ่งคณะของพวกเราได้เห็นสมุดภาพที่คุณลุงลอกลายฉบับ original แท้ๆ คุณลุงบอกว่า สมุดภาพแบบนี้คุณลุงทำถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไป 1 เล่ม นอกจากนี้ปี 2522 คุณลุงยังไปเป็นอาจารย์พิเศษให้การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดราชบุรีอีกด้วย
แต่เนื่องจากพวกเราไปถึงก็เป็นเวลาสายมากแล้ว จึงมีเวลาเก็บข้อมูลน้อย ก็เลยตกลงกันว่าคงต้องมีครั้งหน้าอีกครั้งหนึ่ง ก่อนกลับคุณลุงได้มอบผ้าขาวม้าไท-ยวน ให้กับอาจารย์สุรศักดิ์ไว้ 1 ชิ้น ซึ่งอาจารย์ก็ได้มอบให้กับสถาบันวัฒนธรรมภาคตะวันตก และอาจารย์ยังได้ขยายความรู้ให้กับเราอีกว่า คำว่า “จอมพลผ้าขาวม้าแดง” ที่เป็นฉายาของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ นั้นก็มาจากผ้าขาวม้าชนิดนี้นี่เอง เนื่องจากผ้าขาวม้าไท-ยวนจะมีลักษณะเป็นสีแดง