Go to ASEAN แบบม๋วนใจ๋

น้องใจ๋ ของไอ้ขุนทอง ทำให้เรานั่งยิ้มน้อยยิ้มใจอยู่หน้าจอทีวี เพื่อดูละครเรื่องนี้ …. หลายคนชอบนะ จนอยากจะเปลี่ยนชื่อบ้าง
แต่….. พอถามไปที่ดูกันน่ะ ดูไอ้ขุนทอง ตะหาก ….แป่วววว
ที่ห้องสมุดของเราก็มีกิจกรรมแบบม่วนใจ๋ คือการไปฝึกฝนภาษาอังกฤษแบบสมัครใจ ใครว่างก็มา ใครจะกลับตอนไหนก็กลับ สบายๆ ทั้งนี้เพื่อนความม่วนใจ๋ เพราะคนสอนมาสอนแบบม่วนใจ๋ตามคำชักชวนของเพ่ป๊องงง
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมเล็กๆ ในโครงการ Go to ASEAN ของหอสมุดฯ เราเองนี่แหละจ้า
ปลายเดือนก่อนมีหลายคนไปฟังการสัมมนาเรื่อง (จำื่ชื่อไม่ได้) ที่ชื่อยาวมาก จำได้อย่างเดียวคือเรื่องเกี่ยวกับ ASEAN  น้องปูของดิฉันก็เขียนรายงานได้น่าอ่าน ชอบตรงข้อเสนอแนะ (แอบติ๊กคะแนนไว้ 1 ขีด) ส่วนน้องรสของน้องเอ๋ก็เขียนบล๊อกมาให้อ่าน แต่ยังไม่ได้อ่านเอาเรื่อง  แล้วมีอีกลายคนทีเ่เขียนกลับรายงาน แต่อ่านแค่ผ่าน ๆ เพราะภารกิจรัดตัว
ไม่ว่าจะอ่านแบบไหน สรุปได้สั้นๆ ว่าใน เร็ววันนี้เราจะไปอาเซียนกันแล้ว ต้องพัฒนาตัวเองแบบนั้น นี้ โน้น โน่น …. เยอะเนอะ :mrgreen:
เรื่องใหญ่ๆ แบบนี้ ท่านบอกว่าต้อง “Think Globally, Act Locally” อันหมายความว่า เรื่องใหญ่ ยากๆ นั้นมีไว้ให้คิด ให้วางแผน แต่ในการปฏิบัติจริงนั้น ต้องรู้จักนำเรื่องราวเหล่านั้นไปปรับใช้ให้เหมาะกับองค์กร
ตัวอย่างเช่น บริษัทยักษ์ใหญ่ จะใช้วิธีแทรกซึมไปทั่วโลก ดูกลุ่มเป้าหมาย ออกโฆษณา จัดกิจกรรมในแต่ละประเทศ หรือแต่ละโซนที่ต่างกัน รู้จักการผสมผสาน สร้างสรรค์เพื่อหาความโดดเด่นหรือความแตกต่าง ให้เหมาะให้ควร ลองเดินไปร้านสะดวกซื้อแล้วมองสินค้ารอบๆ ตัว ก็จะพบคำตอบ
สรุปแบบม่วนใจ๋คือ คิดให้เห็นภาพใหญ่ แล้วเริ่มทำเล็กๆ ค่อยๆ สาน ค่อยๆ ต่อ จึงน่าจะประสบผลสำเร็จ
เพราะนักวิชาการชอบพูดเรื่องธรรมดาให้ยากแบบมึนหัวไปหลายวัน พอได้คำถามซื่อๆ ว่าตกลงจะให้ข้อย เฮ็ดหยัง …. จะไม่มีคำตอบจ้า
ถามว่าทำไมถึงเริ่มที่ภาษาอังกฤษ ขอบอกว่าปล่าวเลย โครงการนี้มีกิจกรรมหลายอย่าง นี่เป็นเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น แ่ต่เป็นเสี้ยวที่หลายคนเข้ามาสัมผัส และสิ่งที่ได้จะติดตัวไปตลอดชีวิต
เพราะภาษาคือประตูสู่การเรียนรู้ และภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางที่ทั่วโลกใช้สื่อสารกัน งานนี้มีกลุ่มเด็กๆ เข้ามาฝึกฝน และมีผู้ใหญ่อยู่สองคน  ที่มาเข้าห้องเรียนแบบม่วนใจ๋
เมื่อครั้งที่แล้วมีอาจารย์มานั่งอ่านหนังสือ หน้าห้องประชุม ถามว่า พี่ๆ ทำอะไรกัน บอกว่าเรียนภาษาอังกฤษกัน อาจารย์บอกว่า…. โหดีจังเลย น่าเรียนจัง ….
ครูบอกว่าการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ  ต้องมีการฝึกฝน ทบทวน เพราะเราไม่ได้สื่อสารกับต่างชาติบ่อยๆ  หากเราอยากมีความมั่นใจในการพูด ทุกเช้าครูยูจีนบอกว่าเราต้องออกกำลังลิ้นทู๊กกกวัน ครูย้ำว่าการฝึกฝนเป็นเรื่องสำคัญ
ทุกวันจะมีชีท ส่วนดิฉัน “อิน” จัด แบกชีทไปโรงเรียนวัดกำมะเสน … พลันหยิบออกมาฝึกฝนยามว่าง พอดี๊งานนี้คุณครูตามด้วย …..  5555 เวรี่กู๊ด เพ่ป๊องงงง (กลัวไม่เชื่อ) ครูเลยยกให้อีกหนึ่งนิ้วโป้ง
ตัวเองนั้นภาษาอังกฤษที่ห่วยขั้นเทพ เรียนก็แค่ ม.ศ.5 ปริญญาตรีอีกนึ่งคอร์ส กับตอนปริญญาโทที่บังเอิญสอบผ่าน แต่มั่นใจสูงยิ่งว่าไม่ผ่าน จึงไปนั่งเรียน แต่ครูช่างตาถึงบอกว่ายูโปรดไปเช็คคะแนนด่วน เพราะไอไม่เชื่อว่ายูต้องมาเรียน … แล้วยูก็พูดคนเดียวในห้อง ก้อเพื่อนไม่ยอมพูดนี่หว่า ….
ช่างน่าภูมิใจจริงๆ (เล่าเรื่องนี้จนลูกเบื่อแล้ว วางแผนว่าจะเล่าๆไปเรือ่ยๆ จนเบื่อกันไปข้างหนึ่ง)
สมัยก่อนตัวแทนสำนักพิมพ์จากต่างประเทศมาบ่อย จะถามทุกครั้งว่าเข้าใจฉันมั๊ย ถ้ายูไม่เข้าใจฉัน ยูโปรดไปเรียนภาษาไทย เพราะฉันพูดได้แค่นี้… คำตอบคือ เข้าใจก๊าบ
คงเป็นเพราะความใจกล้า และ…. บวกกับความเจริญวัย พูดไปเรื่อย เพราะพูดผิด เดี๋ยวคู่สนทนาก็จะมาแก้ไข ก็จำหรือจดไว้บ่อยๆ คำศัพท์จะสมสมเข้ามาในตัวเรา บทสนทนาในชีวิตประจำวัน คุยแบบเรื่อยเปื่อย จึงพอสื่อสารได้
ดังนั้น ทุกเช้าและก่อนนอน ภารกิจม่วนใจ๋ คือ ฝึกออกเสียงให้ชัดทุกคำ เช่น  LA LE LI LO LU ……………..  พร้อมกับเกณฑ์บุตรีทั้งสองมาร่วมชะตากรรม
เรื่องนี้ยังไปบูรณาการกับการไปจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน อืมมม …. น่าจะได้เกณฑ์ 5 (แบบเข้าข้างตัวเอง) แต่ขอโทษ… หาที่ลงให้ KPI ให้ตัวไหนไม่ได้ เพราะไม่มี! หุหุ
งานนี้เห็นความเข้มแข็งของน้องๆ ได้ยินเสียงหัวเราะของพี่ๆ แค่นี้ก็ม่วนใจ๋แล้วจ้า….

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร