The last lecture : ตกแต่งความคิด

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 พวกเรามีนัดพบกับผู้อำนวยการฯ (ผศ.ดร.นรงค์ ฉิมพาลี) เพราะน้องน้ำเป็นเหตุ ทำให้บรรยากาศอลเวงนิดหน่อย เพราะถึงน้องน้ำจะไม่มา แต่ความท่วมท้นของข่าวสารข้อมูล เหมือนจะมีมากกว่ามวลน้ำ ทำให้หลายคนใจเต้นไม่เป็นสุข รวมทั้งเรา (จะ) ต้องไปจัดกิจกรรมที่ศูนย์พักพิง ไหนจะต้องไปกิจกรรมงานองค์พระฯ ไหนจะตารางเวรที่เลื่อนออกไปตามวาระการเปิดของมหาวิทยาลัย
boss1
เหตุที่พบเนื่องจากวันนี้เป็นวันที่ผู้อำนวยการฯ จะดำรงตำแหน่งนี้เป็นวันสุดท้าย ใครเล่าจะเชื่อว่าสิริรวมแล้วแปดปีเต็มทีเดียว
ผู้อำนวยการฯ ได้ใช้เวลานี้กล่าวอะไรเล็กน้อยๆ กับพวกเรา บรรยากาศแบบนี้ทำให้นึกถึงหนังสือเรื่อง The last lecture  ซึ่งเป็นเรื่องราวของ Dr Randy Pausch เป็นอาจารย์สอนวิชาคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon สหรัฐอเมริกา หนังสือเล่มนี้ดังมากทั้งในและต่างประเทศ แม้จะเป็นเรื่องเศร้า แต่ทว่าเนื้อหาของหนังสือนั้นน่าสนใจและนำมาใช้ได้ในชีวิตของเรา
The last lecture โดยทั่วๆ ไปเท่าที่อ่านดู ในเมืองนอกจะเชิญศาสตราจารย์ไปแสดงปาฐกถาในหัวข้อนี้ โดยให้ท่านทั้งหลายคิดและทบทวนโดยให้นึกว่าความตายของตัวเองและบรรยายถึงสิ่งที่สำคัญที่สุด มีคุณค่าที่สุด และในระหว่างที่พูดคนฟังก็จะอดไม่ได้ที่จะคิดว่าแล้วถ้าเป็นเราล่ะ เราจะทิ้งอะไรไว้ในดลกใบนี้ หรือเราจะมีความรู้อะไรบ้างที่เราอยากแบ่งปันให้เพื่อนๆ เพราะนี่เป็นโอกาสสุดท้ายของเราแล้ว
นึกถึงงานเกษียณอายุหรืองานอำลาอะไรตำแหน่ง ที่น่าจะมีแบบนี้ หากทำได้น่าจะเป็น KM ชั้นเยี่ยม และคิดว่าน่าจะดีกว่าที่ไปคิดว่าจะรับทานอะไร สั่งอาหารร้านไหน กระทั่งจะใช้งบฯ อะไรดี…..  สำหรับตัวเองแล้ว มีความเห็นว่าหลายต่อหลายอย่างของวิธีคิดและวิธีการทำงาน มักได้จากพี่ๆ ที่ออกไป เพราะพี่ๆ เมื่อถึงวันนั้นแล้วจะเป็นอิสระในการคิด การอยู่มานานและหลุดออกมา จะทำให้มองอะไรๆ ได้ชัดเจนและเข้าใจ
แค่นึกว่าบรรยากาศช่างเหมือน The last lecture แถมเนื้อหาการเล่าสู่กันฟัง ก็ชวนให้คิดถึงหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา ลองไปหาอ่านดูที่ห้องสมุดเรามีทั้งต้นฉบับและฉบับแปล
smalllastlecturecover

ผู้อำนวยการฯ (อดีตไปแล้วสิ) ได้เล่าและฝากถึงวิธีการทำงานไว้ว่า ในการทำงานและการใช้ชีวิต เราจะต่างต้องรู้จักตกแต่งความคิด เพื่อให้เราอยู่รวมกันในสังคมเดียวกันได้ เนื่องจากอาจารย์เป็นนักกีฬาจึงมักจะยกตัวอย่างมาเทียบเคียงกับการทำงาน จึงอยากจะขยายความในส่วนนี้

โคัช ได้แก่หัวหน้าต่างๆ ตั้งแต่ระดับสูง ลดหลั่นกันลงมา รวมถึงรุ่นพี่ที่ต้องมาช่วยกันฝึกฝนภารกิจเพื่อให้บรรลุ เป้าหมาย นักกีฬาคือเหรียญทอง หรือถ้วยรางวัล ของเราอาจจะเป็นการบรรลุตาม KPI ของหน่วยงานอาจเป็นเรื่องของการไปถึงเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ ซึ่งจำเป็นต้องมี กฏ กติกา มารยาท คือระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติในหน่วยงาน หรือวัฒนธรรมองค์กรขระเดียวกันคนทำงานต้องรู้จัก “เล่น” มองงานให้ออก รู้จักรุก รู้จักตอบ รู้จักผ่อน รู้จักเร่ง เมื่อกระทบกระทั่งกันต้องรู้จักคำว่าขอบคุณและคำว่าขอโทษ

มีหลายครั้งที่เราเผลอปรบมือให้กับนักกีฬาที่แพ้ในเกมส์ แต่สง่างามในสนาม…

ในเมื่อความคิดจะต้องตกแต่งด้วยแล้ว คำถามคือเราจะใช้อะไรมาประดับประดา ยุคสมัยนี้คงไม่พ้นเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ (หากจะให้เก่ต้องแถมด้วยความเป็นครีเอทีฟ) ที่ต้องมีพื้นฐานและเริ่มจากให้ตนเองรู้จักการเปิดใจและการแบ่งปัน

มีบางตอนของหนังสือเล่มนี้ที่อ่านแล้วถูกอกถูกใจมาก คือ ในตอนที่ว่าด้วย The Parent Lottery บอกไว้ว่า … If you have a question … then find the answer……. We knew a better way: Open the encyclopedia. Open the dictionary. Open your mind. (หน้า22)

Thanks kha boss….

Enhanced by Zemanta

One thought on “The last lecture : ตกแต่งความคิด

  • แปดปีเต็มที่ทำงานร่วมกันมากับboss ผศ.ดร.นรงค์ ฉิมพาลี พี่แมวสถานภาพผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งๆที่พี่แมวเป็นรุ่นพี่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พี่แมวรหัส 14 ผอ.นรงค์ รหัส 17 ถามว่าใครแก่กว่ากัน ให้ดูที่หน้าตา บุคลิกลักษณะ แน่นอน ผอ.นรงค์แก่กว่า เป็นสายวิชาการแถมเป็นอดีตรองอธิการบดี พระราชวังสนามจันทร์ ก่อนมาเป็น ผอ. พี่แมวเป็นได้แค่ ผออีเงาง่ะ แล้วอย่าถามนะว่า เป็นอย่างไร พี่แมวชอบผอ.นรงค์(อาจารย์จิ๋มทราบดี ไม่ใช่ฉันรักผัวเขานะ) ชอบการทำงานกล้าตัดสินใจ คิดอะไร ใส่ทันที(ี่แมวโดนหลายดอก ปีละดอกเป็นอย่างน้อย) ให้รู้ซะมั่งไผเป็นไผ ทุกคนในที่ประชุมหัวหน้าฝ่าย/งาน ต้องเรียงเกณฑ์ kpi ตามลำดับเลขน้อยไปหาเลขมาก ทั้งๆที่ตามแบบประเมินผลการปฏิบัติงานฯ เรียงจากเลขมาก ลงไปหาเลขน้อย ขอบคุณอีกครั้งค่ะที่มาเติมให้หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ก้าวสู่ระดับแนวหน้าของประเทศง่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร