การประชุมกลุ่มบริการสารนิเทศ..ตอน 2

ยังมีอีก   3  เล่ม   คือ
เล่มที่  6 Career Anchors  ของ  Edgar H Schein การคิดทอดสมอ คือ การไม่คิดจะออกจากงานที่ำทำอยู่ โดยทั่วไป รูปแบบการเกิด คิดทอดสมอ  มี 5 ลักษณะ ได้แก่
– ความสอดคล้องระหว่างวิชาที่เรียนมากับงานที่ทำ
– การได้บริหารจัดการ ได้เป็นผู้นำ
– ความมั่นคง ไม่ต้องการย้ายงาน แม้ข้อเสนองานใหม่ดีกว่า แต่ไม่มั่นคง
– ความเป็นอิสระ
– ความคิดสร้างสรรค์
เล่มที่  7 Motivation -Hygiene Theory ของ  Federick  Herzberg  กล่าวถึง แรงจูงใจสามัญประจำองค์การ ว่า คนต้องการอะไรจากการทำงาน
ปัจจัยสุขอนามัย ได้แก่
– นโยบายและระบบการบริหาร
– การควบคุมบังคับบัญชา
– สภาพแวดล้อมการทำงาน
– เงินเดือน /ผลตอบแทน
– ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน  ผู้ใต้บังคับบัญชา
– วิถีชีวิตส่วนบุคคล
– สถานภาพ ความมั่นคง
– ปัจจัยจูงใจ
– ความสำเร็จ
– เกียรติยศ ชื่อเสียง
– เนื้องาน  ลักษณะ ประเภทงาน
– ความรับผิดชอบ
– ความก้าวหน้า โอกาสเติบโต
การที่คนทำงานไม่ประสบความสำเร็จ มีอยู่ 2 อย่างคือ
–         Can’t do  (Skill Problem)  คือ ทำไม่ได้ แก้ไขโดย  การฝึกอบรม (Training)
–         Won’t do (Motivational Problem)  คือ ไม่อยากทำ แก้ไขโดย การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)
บุคคลที่มีความสุขในที่ทำงาน ต้องมีคุณลักษณะ 8 ประการ คือ
1, Happy Body   มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ
2. Happy Heart  มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันและกัน
3. Happy Society  มีความรักสามัคคี มีสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี
4. Happy Relax  รู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่างๆ ในการดำเนินชีวิต
5. Happy Brain  การศึกษาหาความรู้พัฒนาตนเอง นำไปสู่การเป็นมืออาชีพ
6. Happy Soul  มีความศรัทธาในศาสนาและมีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต
7. Happy Money  มีเงินรู้จักใช้ รู้จักเก็บ ไม่เป็นหนี้
8. Happy Family  มีครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง
เล่มที่  8 A New strategy for Job enrichment  ของ  Hackman and Oldham  เป็นการนำเสนอ model ของการเพิ่มแรงจูงใจและความพึงพอใจในการทำงาน เป็น 5 ลักษณะ คือ
1. Skill variety คือ ทักษะที่หลากหลาย
2. Task Identity  คือ เอกลักษณ์ในงาน
3. Task Significance  คือ คุณค่างาน
4. Antonomy คือ อิสระในงาน
5. Feedback  คือ  ผลการทำงานป้อนกลับ
อาจารย์สรุปว่า หากเราจะ Enrich อะไรก็ต้องเข้าใจในสิ่งนั้นก่อน  เช่น อย่างที่เรารู้กันว่า  เราสามารถ enrich กาแฟได้โดยการเติม โกโก้ (เพราะเป็นของที่ได้จากเมล็ดเหมือนกัน)  หรือจะ enrich ชา  ก็ต้องใช้มะนาว เป็นต้น
ภายในเวลา ไม่ถึงครึ่งวันเราคงไม่สามารถอ่านหนังสือเหล่านี้ได้แม้แต่เล่มเดียว แต่อาจารย์สรุปให้แต่หัวใจของหนังสือในส่วนที่เราเข้าใจได้  ดังนั้นจึงทำให้เราตระหนักในตนเองได้อย่างหนึ่งว่า  ตอนนี้แม้ว่าเราอาจจะไม่สามารถพัฒนาภาษาอังกฤษให้เก่งได้  (อาจเพราะแก่เกิน หรือเพราะอะไรก็แล้วแต่)  ก็ยังเอาไปสอนลูก หลานได้ ว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญยิ่งที่เราจะต้องพยายามอ่าน พูด ฟัง เขียนให้ได้  เพราะนอกจากมันจะเท่ห์แล้ว มันยังเป็นเหมือนวีซ่าที่ไม่มีวันหมดอายุ  ที่เราสามารถท่องไปในโลกของความรู้ได้โดยไม่จำกัดสื่อ  ไว้มาเขียนต่อตอนต่อไปนะคะ  Thank You, teacher, sit down! ^__^
จนจบแล้ว..สรุปไม่รู้จะเขียนอย่างไรว่า   Talent คืออะไร  เกี่ยวข้องกับ Competency อย่างไร หัวหน้าฝ่ายบริการสรุปให้ที

2 thoughts on “การประชุมกลุ่มบริการสารนิเทศ..ตอน 2

  • ฮ่าฮ่า พี่เรา… ไว้จะขยายความตามที่เข้าใจค่ะ

  • หนูหาหนังสือบางเล่มที่หาได้ใส่ลงในชั้นข้างบนแล้วนะคะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร